ข้อมูลทั่วไป

  

 

ความเป็นมา

          ตำบลมหาสอน เป็นตำบลที่ประชาชนส่วนใหญ่อพยพมาอยู่อาศัยตามริมแม่น้ำ เพื่อให้สะดวกต่อการประกอบอาชีพ และการเดินทาง  ซึ่งการเดินทางสมัยก่อนนั้นต้องเดินทางทางเรือ  และเมื่อมาอยู่อาศัยกันเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น และยังไม่มีโรงเรียน จึงทำให้เด็กๆ ต้องไปเรียนที่วัด   ซึ่งมีพระเป็นผู้สอนหนังสือ  จึงทำให้คนทั่วไปเรียกชื่อหมู่บ้านว่าบ้านมหาสอน
 ปัจจุบัน มีครัวเรือนทั้งหมด 934 หลังคาเรือน  จำนวนประชากรทั้งหมด 3,291 คน แยกเป็นชาย 1,605 คน  หญิง  1,686 คน (ตามการอยู่จริง)
          อาชีพประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ  เกษตรกรรม  อาชีพรอง  คือการ        เลี้ยงสัตว์

อาณาเขต
   ตำบลมหาสอน มีทั้งหมด 8 หมู่บ้าน มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอ 12 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 33 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต มีดังนี้

ทิศเหนือ
ติดต่อ
ตำบลไผ่ใหญ่
อำเภอบ้านหมี่
จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อ
ตำบลบางพึ่ง
อำเภอบ้านหมี่
จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันตก
ติดต่อ
ตำบลโพธิ์ชัย
อำเภออินทร์บุรี
จังหวัดสิงห์บุรี
ทิศใต้
ติดต่อ
ตำบลบางขาม
อำเภอบ้านหมี่
จังหวัดลพบุรี

เขตการปกครอง

          ตำบลมหาสอน แบ่งเขตการปกครองเป็น 8 หมู่บ้าน ประกอบด้วย

ตารางที่ 1  จำนวนพื้นที่การแบ่งเขตการปกครอง/ครัวเรือน/ประชากรตำบลมหาสอน จำแนกรายหมู่บ้าน

ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนประชากร
รวม
จำนวนหลังคาเรือน
จำนวนครอบครัว
ชาย
หญิง
หมู่ที่ 1 บ้านห้วยแก้ว
63
70
133
157
217
หมู่ที่ 2 บ้านปากดง
92
89
181
119
149
หมู่ที่ 3 บ้านบางพึ่ง
103
89
192
148
227
หมู่ที่ 4 บ้านมหาสอน
134
105
239
133
189
หมู่ที่ 5 บ้านใหม่
116
124
240
117
202
หมู่ที่ 6 บ้านขอม
123
108
231
116
183
หมู่ที่ 7 บ้านแหลมตะนอย
116
112
228
98
172
หมู่ที่ 8 บ้านหนองคาง
113
99
212
46
67
รวม
1,605
1,686
3,291
934
1,406

ที่มา:  ฐานข้อมูล HosXp for pcu (ตามการอยู่จริง)

ตำลมหาสอน มีจำนวน 8 หมู่บ้าน  มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 934 หลังคาเรือน  มีประชากรอยู่อาศัยเป็นจำนวน 3,291  คน ( ข้อมูล  ฐานข้อมูล HosXp for pcu) โดยมีอัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย  1 : 1.05   ความหนาแน่นของประชากร เท่ากับ 100 คนต่อตารางกิโลเมตร


ลักษณะการปกครองท้องถิ่น
         องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสอน ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ.2539

ลักษณะภูมิประเทศ

          ภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลมหาสอน มีลักษณะราบลุ่ม มีแม่น้ำบางขามไหลผ่าน เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม

การคมนาคม
          การเดินทางเข้าสู่ตำบลมหาสอนสามารถเดินทางได้โดยเส้นทางจากอำเภอบ้านหมี่ผ่านถนนสายบ้านหมี่-ท่าโขลง ถึงหลัก กม.15 เลี้ยวขวา ประมาณ 2.5 กิโลเมตร

สังคมและวัฒนธรรม
1.  สภาพสังคม
ประชากรตำบลมหาสอนนับถือศาสนาพุทธและยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนา มีศาสนสถานในตำบล 3 แห่ง คือ 1) วัดมหาสอน ตั้งอยู่หมู่ที่ 5  2) วัดบางพึ่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3  และ 3) วัดห้วยแก้ว ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 
2.  การศึกษา
ตำบลมหาสอน มีการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นขยายโอกาส  รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง  และศูนย์เด็กเล็ก 1 แห่ง ประกอบด้วย 1) โรงเรียนวัดมหาสอน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5  2) โรงเรียนวัดบางพึ่ง(โรงเรียนขยายโอกาส) ตั้งอยู่หมู่ที่ 3  3) โรงเรียนวัดห้วยแก้วตั้งอยู่หมู่ที่ 1  4) ศูนย์เด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลมหาสอน ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
3.       การสาธารณสุข
มีจำนวนสถานพยาบาลแผนปัจจุบันของรัฐ คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสอน มีเจ้าหน้าสาธารณสุข จำนวน 3 คน
มีจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 44 คน

วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี    
          ด้านวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของประชาชนตำบลมหาสอน มีลักษณะที่คล้ายคลึงและไม่แตกต่างไปจากที่อื่นๆ เช่น การแต่งงาน การขึ้นบ้านใหม่ งานบวช เป็นต้น

ข้อมูลสุขาภิบาล
          ตำบลมหาสอนมีแผงลอยจำหน่ายอาหาร  5  แผง / ผ่าน  CFGT  5 แผง  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ  100 
  
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          ตำบลมหาสอนมี อาสาสมัคร อปพร.   จำนวน 12  คน อาสาสมัครตำรวจอาสา  จำนวน 18  คน

การบริการขั้นพื้นฐาน
          -  การคมนาคม  ทางรถยนต์  ถนนสาย  บ้านหมี่ บางงา
          -  น้ำประปาหมู่บ้าน จำนวน  8/8  แห่ง/ หมู่บ้าน
          -  มีไฟฟ้าใช้ ร้อยละ 100
          -  มีหอกระจายข่าว 8 หมู่บ้าน

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน
          -  จักสานหวาย  .3 ,.4, .5, .6 ,.7 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุท้องถิ่นหาได้ง่ายราคาไม่แพงและสวยงาม โดยมีการจักสานหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะตะกร้าแบบกลม แบบเหลี่ยม แล้วเล่นลวดลายให้สวยงามนำหวายมาจักสาน โดยกลุ่มซื้อหวายมาจากภายในอำเภอและจังหวัดที่ใกล้เคียงมาให้สมาชิกกลุ่มนำไปจักสาน ตามลวดลายที่ตลาดต้องการ
          -  ปลาส้มแม่นอง ม.2




ไม่มีความคิดเห็น: