ภาวะสุขภาพ



ตารางที่ 3  ข้อมูลสถิติชีพและสถานะสุขภาพของประชาชนตำบลมหาสอน พ.ศ. 2553 – 2555


 

สถิติชีพ/สถานะสุขภาพ

ค่าเป้าหมาย

พ.ศ.2553

พ.ศ. 2554

 พ.ศ.2555

- อัตราเกิด: 1,000 ประชากร


 

34(10.33)

37(11.24)

45(13.6)

- อัตราตาย: 1,000 ประชากร


 

45(13.67)

33(10.02)

24(7.29)

- อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ %


 


 


 


 

- อัตราส่วนการตายมารดา : เกิดมีชีพ 100,000 คน

<18

0

0

0

- อัตราทารกตายปริกำเนิด  : การเกิด 1,000 คน 

<16.7

0

0

0

-  ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500  กรัม

ไม่เกินร้อยละ 7

2.90

2.70

0.00

- หญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลก่อนครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์

ร้อยละ 90

83.33

68.42

81.25

- เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ (อายุ/น้ำหนัก)

ร้อยละ 80

47.06

63.96

73.79

ที่มา:  งานรักษาพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพ

         **    อัตราเกิด (ต่อประชากรพันคน) : จำนวนการเกิดทั้งหมดในปีหนึ่ง หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปีนั้น คูณด้วย 1000
                อัตราตาย (ต่อประชากรพันคน) : จำนวนการตายทั้งหมดในปีหนึ่ง หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปีนั้น คูณด้วย 1000
                อัตราเพิ่มธรรมชาติ (ร้อยละ) : จำนวนเกิด ลบด้วย จำนวนตาย หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดเมื่อกลางปี คูณด้วย 100


 

          จากตารางที่ 3 พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2555 อัตราการเกิดของตำบลมหาสอนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี พ.ศ. 2555 มีอัตราการเกิดเท่ากับ 13.6 หมายความว่าในประชากรทุก 1000 คน จะเป็นเด็กแรกเกิด 14 คน  ส่วนอัตราการตายพบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2555 อัตราการตายของตำบลมหาสอนลดลงทุกปี โดยปี พ.ศ. 2555 มีอัตราการตายเท่ากับ 7.29 ในเรื่องทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500  กรัม พบว่า ผลงานที่ทำได้ไม่เกินค่าเป้าหมายที่กำหนด โดยน้ำหนักของเด็กส่วนใหญ่ แรกเกิดจะมีน้ำหนักเกิน 2,500 กรัม ส่วนในเรื่องหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลก่อนครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์ และเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ (อายุ/น้ำหนัก) พบว่า ผลงานยังไม่ผ่านเกณฑ์ค่าเป้าหมายที่กำหนด  ซึ่งทางรพ.สต.มหาสอน จะทำแผนแก้ไขปัญหาดังกล่าวในลำดับต่อไป


 

ตารางที่ 3  แสดงร้อยละประชากรตามกลุ่มวัย ตำบลมหาสอน ปี 2553 -2555

กลุ่ม

ร้อยละประชากรตามกลุ่มวัย

ดัชนีผู้สูงอายุ(Ageing Index)

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

ประชากรวัยเด็ก

17.19

16.90

15.3

99.85

105.17

125.4

ประชากรวัยแรงงาน

65.64

65.65

65.4

ประชากรวัยสูงอายุ

17.17

17.61

19.2

ที่มา: HosXp for pcu

          จากตารางที่ 3 พบว่า ตำบลมหาสอนมีแนวโน้มที่จะมีประชากรวัยเด็กลดลงทุกปี และมีจำนวนผ็สู.อายุเพิ่มขึ้น  แต่มีประชากรวัยแรงงานค่อนข้างคงที่ แสดงว่าโครงสร้างของประชากรได้เปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่สังคมผู้สูงอายุ (Anging Society) ดังจะเห็นได้จากดัชนีผู้สูงอายุ(Ageing Index) ดัชนีดังกล่าวเป็นการเทียบอัตราส่วนของจำนวนประชากรสูงอายุ (อายุ 60ปีขึ้นไป) ต่อจำนวนประชากรวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) 100คน ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นทุกๆปี และในปีพ.ศ.2555 พบว่าดัชนีผู้สูงอายุเท่ากับ 125.4  คือหมายความว่า ถ้าเด็กมีเด็กจำนวน 100 คน จะมีผู้สูงอายุ 126 คน จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสอน ควรมีการเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ


 

ตารางที่ 4 แสดงอัตราส่วนพึ่งพิง ตำบลมหาสอน ปี 2553 -2555

อัตราส่วนพึ่งพิง(ต่อ 100)

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

อัตราส่วนพึ่งพิงวัยเด็ก

26.19

25.50

23.5

อัตราส่วนพึ่งพิงวัยชรา

26.15

26.82

29.3

อัตราส่วนพึ่งพิงรวม

52.35

52.31

52.8

ที่มา: HosXp for pcu

 

 

          จากตารางที่ 4 พบว่า อัตราการพึ่งพิงของตำบลมหาสอนในปี พ.ศ.2555 เท่ากับ 52.8  หมายความว่า ในประชากรวัยแรงงาน ทุก 100 คน จะต้องดูแลเด็กและผู้สูงอายุ 53 คน โดยสามารถแยกเป็นเด็ก 24 คน ผู้สูงอายุ 29 คน และเมื่อเปรียบเทียบกันจะเห็นได้ชัดว่า อัตราพึ่งพิงวัยเด็กจะลดลงทุกปี ส่วนอัตราการพึ่งพิงวัยชราจะเพิ่มขึ้นทุกปีด้วยเช่นกัน ดังนั้น มาตรการและโครงการที่จะเป็นสวัสดิการให้ประชากรสูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไป หรือเรื่องสุขภาพอนามัย ควรที่จะได้เริ่มกันตั้งแต่วันนี้ และจะต้องพัฒนาไปให้ทันกับการเพิ่มอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุในอนาคตอีกด้วย


 

ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสอนรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพประชาชน จำนวน 8 หมู่บ้าน 934 หลังคาเรือน ประชากร 3,291 คน มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 3 คน ประกอบด้วย

1.  เจ้าหน้าที่บริหารสาธารณสุข

2.  นักวิชาการสาธารณสุข

3.  เจ้าพนักงานสาธารณสุข

เจ้าหน้าที่ต่อประชากรที่รับผิดชอบ   1: 1097

  

ตารางที่ 6  สาเหตุการตาย 10 อันดับแรก ตำบลมหาสอน พ.ศ. 2553 – 2555


 

สาเหตุการตาย

พ.ศ. 2553

พ.ศ. 2554

พ.ศ.2555

1.  สาเหตุภายนอกของการป่วยและตาย(V01-Y98)

30

17

11

2.  ระบบไหลเวียนโลหิต (I00-I99)

5

2

6

4.  โรคเนื้องอก(รวมมะเร็ง) (C00-D48)

5

7

2

5.  โรคระบบหายใจ(J00-J99)

2

1

-

6.  โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อโภชนาการและเมตะบอลิซึม(E0-E90)

-

4

4

9.  โรคระบบย่อยอาหาร(K00-K99)

3

1

1

10. โรคระบบประสาท(G00-G99)

-

1

-

รวม

45

33

24

 

ที่มา  :   สาเหตุการตาย HosXp for pcu


 

            จากตารางที่ 6 พบว่า 10 สาเหตุการตายอันดับต้นๆ 3 อันดับแรก คือ สาเหตุภายนอกของการป่วยและตาย รองลงมา คือ ระบบไหลเวียนโลหิต  และ โรคเนื้องอก(รวมมะเร็ง) ซึ่งสาเหตุการตายส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่สามารถป้องกัน และรักษาได้ ซึ่งทาง ซึ่งทาง รพ.สต.มหาสอน จะทำแผนแก้ไขปัญหาดังกล่าวใน ลำดับต่อไป


 

ตารางที่ 7  โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 10 อันดับแรกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล        มหาสอน  พ.ศ. 2553–2555


 

โรค

 พ.ศ.2553

พ.ศ.2554

 พ.ศ.2555

จำนวน

อัตราป่วย

จำนวน

อัตราป่วย

จำนวน

อัตราป่วย

1. อุจจาระร่วงเฉียบพลัน

13

395

29

881.19

9

273.14

2. ตาแดง

2

60.77

2

60.77

-

-

3. สุกใส

-

-

-

-

-

-

4. อาหารเป็นพิษ

-

-

-

-

-

-

5. วัณโรค

-


 

4

121.54

3

91.00

6. ไข้หวัดใหญ่

-

-

-

-

-

-

ที่มา : รง.506 (อัตราป่วยต่อประชากร100,000 คน)

 

          จากตารางที่ 7  พบว่า โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ของตำบลมหาสอน มี 3 โรคด้วยกัน คือ อุจจาระร่วงเฉียบพลัน ตาแดง และ วัณโรค

ตารางที่ 8  อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสอน  พ.ศ. 2553–2555


 

 พ.ศ.2551

พ.ศ.2552

พ.ศ.2553

 พ.ศ.2554

พ.ศ.2555

จำนวน

อัตราป่วย

จำนวน

อัตราป่วย

จำนวน

อัตราป่วย

จำนวน

อัตราป่วย

จำนวน

อัตราป่วย

12

364.60

0

0

3

91

12

364.63

2

60.77

มัธยฐาน

3

มัธยฐาน

3

มัธยฐาน

3

มัธยฐาน

7

มัธยฐาน

7

ค่าเป้าหมาย คือ ลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐาน

ที่มา : ทะเบียนรับแจ้งโรคติดต่อ


 

                จากตารางที่ 8 พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลมหาสอนยังมีอยู่ทุกปี โดยปีที่มีจำนวนป่วยมากที่สุด คือ ปี พ.ศ. 2551,2554 จำนวน 12 รองลงมา คือ ปี พ.ศ. 2553 จำนวน 3 และ ปี พ.ศ. 2555 จำนวน 2 ราย ซึ่งถึงแม้ ปี พ.ศ.2555 จะไม่เกินร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐานที่กำหนด แต่ก็ควรจะมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อไป


 

ตารางที่ 9  สาเหตุการป่วย 10 อันดับแรกของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสอนปีงบประมาณ 2553 –2555


 

สาเหตุการป่วย

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

 

 

1.  โรคระบบไหลเวียนเลือด

1036

756

1313


 

2.  โรคระบบหายใจ

639

887

769


 

3.  โรคระบบกล้ามเนื้อ รวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม

540

539

514


 

4.  อาการ,อาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบได้จากการตรวจทางคลินิก

-

-

391


 

5.  โรคระบบย่อยอาหาร รวมโรคในช่องปาก

155

373

304


 

6.  โรคผิวหนังและเนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง

216

306

209

 

7.  โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม

81

88

          94


 

8.  โรคตารวมส่วนประกอบของตา

96

139

61


 

9.  โรคติดเชื้อและปรสิต

106

271

45


 

10. ระบบสืบพันธุ์

-

-

15


 

  ที่มา : รายงาน 504


 

          จากตารางที่ 9 พบว่า สาเหตุการเจ็บป่วย 10 อันดับแรกของตำบลมหาสอน ส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ในกลุ่มโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยในปี 2555 พบว่า โรคที่มีจำนวนป่วยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ โรคระบบไหลเวียนเลือด(HT) จำนวน 1313 ราย รองลงมา คือ โรคระบบทางเดินหาย จำนวน 769 ราย  และ โรคระบบกล้ามเนื้อ จำนวน 514 ราย ตามลำดับ


 

ตารางที่ 10  ข้อมูลจำนวนผู้มารับบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสอน ปีงบประมาณ 2553 –2555

 

การบริการ

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

1.  จำนวนครั้งของการรับบริการรักษาพยาบาล

2,099

5,293

4,072

2.  จำนวนครั้งของการรับริการงานวางแผนครอบครัว

9

129

88

3.  จำนวนครั้งผู้มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

197

336

208

4.  จำนวนครั้งผู้มารับบริการการตรวจหลังคลอดและการตรวจก่อนคลอด


 

160


 

176


 

114

รวม

2,465

5,934

4,482

ที่มา : รง.5

          จากตารางที่ 10  พบว่า จำนวนครั้งของผู้มารับบริการส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่อง การมารับบริการรักษาพยาบาล รองลงมา คือ สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน  การตรวจหลังคลอดและการตรวจก่อนคลอด และวางแผนครอบครัว ตามลำดับ


 

 

ไม่มีความคิดเห็น: