R2R




การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยในการแปลผลการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง(HT/DM)

หลักการและเหตุผล
          ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการพัฒนาการระบบการดูแลด้านสุขภาพของประชาชนคนไทยอย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปี จากงานโรคติดต่อโรคระบาดรุนแรง มาสู่งานสาธารณสุขมูลฐานซึ่งโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล ได้รับการพัฒนาและแปลงมาสู่งานชุมชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. หลายเรื่องประสบความสำเร็จ จากการพัฒนาสุขภาพดีถ้วนหน้ามาสู่คุณภาพชีวิตที่ดีด้วยกระบวนการสำรวจจปฐ.”(ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน)ในหมู่บ้าน จากการเปลี่ยนแปลงตามภาวะกระแสโลก ทั้งในด้านเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ประเทศไทยได้ปฏิรูประบบสุขภาพ มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่โดยน้อมนำ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาสุขภาพของคนไทยทั้งระบบ ทุกมิติ โดยบูรณาการทุกพื้นที่ ทุกภาคีเครือข่าย ทุกรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสร้างสุขภาพ นำซ่อม โดยเฉพาะการสร้างสุขภาพด้วย “3.”(อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ให้ภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี และยังไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถสร้างได้เอง และยังประหยัดลดค่าใช้จ่ายจากยา ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาเพราะสุขภาพดี โรคยุคใหม่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมอง โรคไตวาย โรคมะเร็ง แต่เราสามารถควบคุม ป้องกัน รักษาโรค โดยการสร้างสุขภาพ ด้วย“3.”และลดปัจจัยเสี่ยงด้วยการลดอ้วน ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่
          มาตรการสร้างสุขภาพมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราป่วย ตาย และผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็งอย่างมีบูรณาการและครบวงจรโดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการสร้างบูรณาการสร้างสุขภาพดีวิถีไทยลดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ..2555-2558 เพื่อป้องกันปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้หรือโรควิถีชีวิต 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดและโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในระดับโลกและประเทศไทยที่มีสถานการณ์แนวโน้มทวีความรุนแรงมาโดยตลอด จากวิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่พอเพียงและขาดความสมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกายไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ได้เหมาะสมทำให้เกิดการเจ็บป่วย พิการ เสียชีวิต มีภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพและการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล
          คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในการหลักการแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยฯและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระดับชาติ 2 คณะ คือ คณะกรรมการอำนวยการยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยและ คณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2554 เพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการเป็นเอกภาพทุกระดับ และได้กำหนดเป็นเป้าหมายตัวชี้วัดที่สำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11พ..2555-2559 รวมทั้งได้กำหนดเป็นโยบายการพัฒนาสุขของประชาชน และเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ในการควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรควิถีชีวิตดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด ในการลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกิจกรรมรองรับดังนี้
          1.  รณรงค์คัดกรองสุขภาพและบริการดูแลสุขภาพประชากรเป้าหมาย(อายุ15-35 ปี) และอายุ 15 ปีขึ้นไป พระภิกษุ สามเณร และผู้นำศาสนา)
          2.  พัฒนากรอบและทิศทางบูรณาการ บริหารจัดการโรคเรื้อรัง(โรควิถีชีวิต)
          3.  พัฒนาความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย
          4.  พัฒนาความร่วมมือสร้างนโยบายสาธารณะลดเกลือและโซเดียม และไขมันทรานส์
          5.  รณรงค์ลดหวาน มัน เค็ม และตรวจสุขภาพเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในวันสำคัญ
          6.  แข่งขันการสร้างสุขภาพระดับเขตและประเทศ
          7.  ขยายผล ต่อยอด จัดการความรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชนฯผลงานความร่วมมือรูปแบบ/ต้นแบบและแบบอย่างที่ดี โดยมีแนวทางดำเนินงานคือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นอกจากเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากกรรมพันธุ์
แล้ว ยังเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ คือ
          1.  กินอาหารที่ไม่ถูกต้อง กินอาหารรสหวานจัด มันจัด เค็มจัด
          2.  ขาดการออกกำลังกาย
          3.  ภาวะอารมณ์ไม่ปกติ
          4.  ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ความอ้วน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดโรคสูงมาก
หลักการ คือ ต้องปลูกฝังพฤติกรรมที่ถูกต้อง ให้เกิดการยอมรับตั้งแต่งานแม่และเด็ก เด็กวัย
เรียน เยาวชน สู่วัยทำงาน จนเป็นวิถีชีวิต หรือ ในวัยทำงาน หากเกิดโรคแล้ว ต้องปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง ยอมรับ และปฏิบัติตาม จนเป็นปกติของชีวิต
          การดูแลกลุ่มเป้าหมาย
          1.  แยกกลุ่มดูแลประชาชนเป้าหมาย อายุ15-65 ปี ด้วยปิงปองจราจรชีวิต 7
สีประกอบด้วย

แปลผล HT


แปลผล DM


          2.  กลุ่มปกติ (สีขาว) กลุ่มเสี่ยง(สีเขียวอ่อน) ต้องเน้นการควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดโรค(ยกเว้นในรายเป็นพันธุกรรมที่อาจเกิดเองได้) ไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่ (NO NEWCASE) หรือ ยืดระยะเวลาการเกิดโรคออกไปกลุ่มปกติไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่


                3.  กลุ่มป่วย ต้องลดระดับความรุนแรงจากระดับ 3 (สีแดง) เป็นระดับ 2 (สีส้ม)ระดับ 1 (สีเหลือง สีเขียวอ่อน) และอยู่ในภาวะปกติ (สีเขียวเข้ม)ให้ได้ โดยใช้หลัก ปฏิบัติ “3.” คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ หรือในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาให้สามารถลดจำนวนยาลงมาได้

คนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่เป็นมานาน หรืออายุสูงขึ้น จะลดเป็นปกติ (สีเขียวเข้ม ) แต่ต้องกนิ ยาคุมอาการ เช่น ครึ่งเม็ด หรือ 1 เม็ด ต่อเนื่อง(หากลดยาให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์)
          4. กลุ่มผู้ป่วยระดับรุนแรง ต้องลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน (สีดำ) ได้แก่โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง อัมพาต ไตวาย

          ซึ่งในการในแยกสีนั้นทำให้เกิดปัญหา แก่ผู้ปฏิบัติงานดังนี้ คือ
          1. เกิดความยุ่งยาก และเสียเวลาในการคัดแยกสี
          2. เนื่องจากค่าความดัน และ ระดับน้ำตาลในเลือดมีหลายค่า ในบางครั้งอาจแยกผิดสี ทำให้เกิดความผิดพลาดในการรวมข้อมูล
          3. บางครั้งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนสี เมื่อค่าความดันโลหิต หรือค่าน้ำตาลเปลี่ยนไปอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสับสน
          4. เนื่องจากผู้ที่ได้รับคัดกรองมีเป็นจำนวนมาก เวลามีการผิดพลาดของข้อมูล อาจทำให้หาข้อผิดพลาดได้ยาก
          ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นทาง รพ.สต.มหาสอน จึงมีแนวคิดในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการคำนวณสี และจัดกลุ่มผู้ที่ได้รับการคัดกรอง เพื่อเป็นการประหยัดเวลา รวมถึงป้องกันปัญหาความผิดพลาดในการรวบรวมข้อมูล

คุณลักษณะเบื้องต้นของโปรแกรม
             โปรแกรมที่ใช้คือ โปรแกรม Microsoft  Excel



นำมาใส่สูตรอัตโนมัติ เพื่อการคำนวณ
          โดยในการคำนวณจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มช่วงอายุ คือ
          1. 15-34 ปี
          2. 35-60 ปีขึ้นไป
          3. 15 ปีขึ้นไป
          โดยแยกเป็นรายหมู่ นอกจากนี้ยังช่วยคำนวณในส่วนของ ค่า BMI  รวมช่วงวัน/เดือน/ปี ที่คัดกรองได้อีกด้วย

วิธีการใช้งาน
          1. กรอกรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ ลำดับ หมู่ บ้านเลขที่ ชื่อ-สกุล อายุ เลขบัตรประชาชน การคัดกรอง วัน/เดือน/ปี  น้หนัก ส่วนสูง รอบเอว ค่าความดันโลหิต และค่าน้ำตาลในเลือด


          2.  ผลการคัดกรองที่ได้ จะเป็นดังนี้

                     คือ คนลำดับ 1   ค่า BMI = 19.15 แปลผลว่าปกติ ค่าความดันโลหิต= ความเสี่ยง   ค่าน้ำตาลในเลือด = ปกติ   ส่วนคนที่ 2  พบว่า ค่า ค่า BMI = 25.22 แปลผลว่าอ้วนระดับ 2 ค่าความดันโลหิต= เขียวอ่อน   ค่าน้ำตาลในเลือด = ส้ม  จะสังเกตได้ว่า คนที่ 2 ลงต่างจากคนที่ 1  คือ ในช่อง Dx. HT และ Dx. DM  หมายความว่า คนที่ 2 เคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์มาแล้วว่า ป่วยด้วยโรคHT และ DM จึงจะสามารถลงค่าทั้ง 2 ช่องนี้ได้  และจะเห็นได้ว่า ช่องสุดท้าย จำนวนผู้ป่วยด้วย HT/DM จะถูกคำนวณโดยขึ้นเลข 1 ให้อัตโนมัติด้วยเช่นกัน

ค่า BMI อ้างอิงมาจาก
BMI
BMI
การแปรผล
มาตรฐานสากล(ยุโรป)
มาตรฐานอาเซียน(เอเชีย)
< 18.5
< 18.5
น้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน
18.5-24.9
18.5-22.9
ปกติ
25-29.9
23-24.9
อ้วนระดับ 1
30-34.9
25-29.9
อ้วนระดับ 2
35-39.9
มากกว่าหรือเท่ากับ 30
อ้วนระดับ 3
มากกว่าหรือเท่ากับ 40
 -
อ้วนระดับ 4





ซึ่งค่าที่ได้ตรงกับการแปลผลที่กล่าวไว้ข้างต้น
และหากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน สามารถกรอกข้อมูลเพิ่ม เพื่อเพื่อให้การแปลผลเปลี่ยนไปเป็นสีดำได้ด้วยเช่นกัน โดยกำหนดรหัสโรค เพื่อการคำนวณไว้ดังนี้



เมื่อทดลอง กรอกข้อมูลในช่อง ภาวะแทรกซ้อนในรายที่ 2 จะเห็นว่าสีเปลี่ยนไปดังต่อไปนี้


จะเห็นได้ว่าจากสีส้มจะเปลี่ยนเป็น สีดำ เมื่อกรอกภาวะแทรกซ้อน รหัส2 = เท้า  ซึ่งผลสรุปการคัดกรองที่ขึ้นได้ดังนี้  คือ ผู้ป่าย DM มีภาวะแทรกซ้อน 1 ราย ภาวะแทรกซ้อน คือ เท้า 1 ราย



ประโยชน์ที่ได้รับจากโปรแกรม
      คือ
     1.  ประหยัดเวลา
     2. ลดข้อผิดพลาดจากการคำนวณ
     3. สามารถเพิ่มข้อมูลอื่นๆในการจัดเก็บได้อย่างอิสระ สำหรับบุคคลที่ใช้โปรแกรม Excel ได้ในระดับพื้นฐาน
     4. สามารถนำไปใช้ในปีต่อไปได้
     5. เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้ได้ง่าย ทุกคนใน รพ.สต. สามารถกรอกข้อมูลการคัดกรองได้ด้วยตัวเอง






Website รพ.สต. : http://mahasonlb.blogspot.com/


















ไม่มีความคิดเห็น: