OTOP 5* ตำบลมหาสอน

ตระกร้าหวายลายวิจิตร

บ้านขอม ตำบลมหาสอน จังหวัดลพบุรี

               ตำบลมหาสอนประชากรบ้านขอม ตำบลมหาสอน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบชนบท เรียบง่าย ประกอบอาชีพทำนา เมื่อว่างจากการทำนาจะรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมด้านงานจักสานซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและปัจจุบันก็ได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานที่มีความสนใจไว้เป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ดีมีความสุข สังคมของบ้านขอมเป็นสังคมที่ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามแบบฉบับวิถีชีวิตของคนไทยในชนบท ซึ่งปัจจุบันนี้จะหาไม่ได้ในเมืองใหญ่ ๆ แต่เดิมคนในหมู่บ้านจะไม่นิยมแยกครอบครัวจากพ่อแม่ แต่ปัจจุบันนี้ เมื่อเยาวชนเรียนจบและประกอบอาชีพนอกหมู่บ้านจะมีการแยกครอบครัวออกไปหรือเมื่อแต่งงานก็จะนิยมแยกครอบครัวไม่รวมอยู่เป็นครอบครัวใหญ่เหมือนแต่ก่อน ผู้สูงอายุหลายคู่จึงต้องมีชีวิตอยู่กันตามลำพังแต่บุตรหลานก็ไม่ได้ทอดทิ้ง จะกลับมาเยี่ยมพ่อแม่ในวันหยุด หรือวันเทศกาลต่าง ๆ ชาวบ้านขอม ตำบลมหาสอนส่วนใหญ่มีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธและร่วมงานพิธีต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
              

ประวัติความเป็นมาของเครื่องจักสาน ตำบลมหาสอน

          เครื่องจักสาน เป็นการงานช่างฝีมือพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เกิดขึ้นประมาณ ปี พ.ศ. 2495 โดย คือคุณป้าโถม ศรีวิฑรูย์ เป็นผู้ถ่ายทอดให้แก่ นางชะลอ ทนทองคำ เมื่อนางชลอ ทนทองคำ ได้รับการถ่ายทอดตั้งแต่สมัยเด็ก ก็ได้ฝึกการทำตะกร้าหวายจนมีความชำนาญ จึงได้ถ่ายทอดต่อให้กับลูก หลาน และผู้สนใจในหมู่บ้าน ต่อมาจึงร่วมกันคิดจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ขึ้น ชื่อกลุ่มจักสานตะกร้าหวายลายวิจิตร ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 15 หมู่ที่ 6 ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และนางชะลอ ทนทองคำ เป็นประธานกลุ่ม ผลิตผลงานเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปจนได้รับคัดสรรให้เป็นสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ระดับ 4 ดาว OTOP เมื่อปี พ.ศ ๒๕๔๖ และได้รับ ระดับ 5 ดาว เมื่อปี พ.ศ. 2549
ตะกร้าหวายลายวิจิตร บ้านขอม ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาจากชาวบ้านตำบลมหาสอนที่เสี่ยงต่อการสูญหาย หรืออาจสูญหาย ได้

วัสดุที่ใช้ในการผลิตผลงาน

           1. ไผ่สีสุก
           2.  หวายหอม และหวายหิน
           3.  ดิ้ว (ตอกตั้ง)
           4. ไม้สัก
           5. กระดาษทราย และ เหล็กหมาด
            ไผ่สีสุก มีลักษณะเป็นไผ่ที่มีลำต้นสูงใหญ่ เนื้อหนา มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำ 7-10 เซนติเมตร  ปล้องยาวประมาณ 30 เซนติเมตร จำนวนปล้องประมาณ 50 ปล้อง อยู่รวมกันเป็นกอๆ แน่นหนามากมีกิ่งข้อคล้ายหนาม ลำต้นตรงสีเขียวสด โคนต้นสีเขียวอมเทาหน่อมีขนาดใหญ่สีน้ำตาลหนักประมาณ 3-5 กิโลกรัม สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมขึ้นได้ดีในดินเหนียว ปนทรายหรือดินร่วนในพื้นที่ราบต่ำ ริมแม่น้ำลำคลอง ปลูกง่าย จะพบว่าปลูกอยู่ทั่วๆ ไป ในภาคกลางและภาคใต้  ประโยชน์  ลำต้น ใช้ในการก่อสร้างทำส่วนต่างๆ ของบ้านเรือนทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน ทำเฟอร์นิเจอร์งานหัตถกรรมต่างๆ โคนไม้ไผ่นิยมใช้ทำคานหามกันมาก เพราะเนื้อหนาและทนทานหน่อใช้ประกอบอาหาร  การเตรียมไม้ไผ่เพื่อทำผลิตภัณฑ์ และทำผลิตภัณฑ์ให้ทนทาน  การตัดไผ่ควรตัดในฤดูร้อนหรือต้นฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูที่ไผ่หยุดการเจริญเติบโต ส่วนฤดูฝนไผ่จะเจริญเติบโต ในระยะนี้จะมีแป้งและแร่ธาตุไข่ขาวอย่างหยาบๆ ถ้าตัดไผ่ฤดูนี้อาจเกิดอันตรายจากแมลง และเชื้อราในดิน ส่วนในฤดูหนาวไผ่ไม่เจริญเติบโต และอาจจะแข็งแกร่งขึ้น ไม่เปราะแตกร้าวง่าย ศัตรูของไผ่ คือ ด้วง ไม้ไผ่ซึ่งชอบเกาะดินยอดอ่อนของหน่อไผ่ และอาจมีมดแดงปลวกแดงทำลายหน่อได้ การเก็บถนอม ไม้ไผ่ควรเก็บไว้ในที่แห้งๆ จะมีข้อเสียหายน้อยที่สุด แต่ทั้งนี้ต้องตัดไผ่ที่มีอายุเพียงพอ คือ อายุ 3 ปี ขึ้นไป และตัดถูกฤดูกาล ผลิตภัณฑ์ ไม้ไผ่ที่ตากแห้งสนิทดีภายหลัง ที่ต้มในน้ำร้อน 10 นาที จะทนไปได้นานหลายเท่าของไม้ไผ่ ธรรมดาที่เก็บโดยไม่ต้ม วิธีป้องกันแมลง โดยใช้ยาเคมี เช่น บอร์แรกซ์ โซดาไฟ สารส้มคอปเปอร์ซัลเฟต เป็นต้น ขจัดธาตุแป้ง และธาตุไข่ขาวซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแมลงและเชื้อราอกเส้น วิธีรมแก๊สก็จะป้องกันแมลงได้ หรือโดยวิธีสกัดความชื้น และแบคทีเรียในอากาศ หวายหอม เป็นหวายลำเล็กๆ ผิวสวยสีขาว เหลืองนวลเป็นมัน เนื้อในขาว ละเอียดเป็นหวายที่เหนียวจักเหลาเกลาได้ง่าย ผิวริมนอกจักเจียนเป็นเส้น เหมาะสำหรับถักมัดผูก กับเนื้อในเรียกว่าขี้หวายเจียนเป็นเส้นกลมใช้สานเป็นสิ่งของต่างๆ ได้ และย้อมสีก็ได้
บทความนี้เขียนโดย:โชติรส โสมภีร์

ผลงาน









ตระกร้าหวายบ้านขอม

ปัจจุบัน น้าชลอ ทนทองคำ เป็น อสม. ตำบลมหาสอน



ไม่มีความคิดเห็น: